วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การเขียนคำนำ


คำนำ หรือ คำเริ่มต้น คำปรารภ อารัมภบท ก็คือคำพูดให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านเกิดความสนใจในเรื่องที่เราจะเล่าหรือเขียนให้เขาฟังหรืออ่าน เช่นพูดกับเพื่อนว่า 'เมื่อวานฝนตกหนักเหลือเกิน ไปไหนไม่ได้ ฉันเลยอยู่กับบ้านสองคนกับพี่ชาย เขาสอนให้เล่นหมากรุก สนุกดีจังไม่เคยรู้มาก่อนว่าการเล่นหมากรุกนั้นมีกลยุทธมากมายถึงขนาดนั้น' ประโยคขี้นต้น ที่พูดว่าฝนตกไปไหนไม่ได้ จะเรียกว่าเป็นคำนำก็ได้ ให้คนฟังรู้ว่า ทำไมพี่ชายถึงสอนหมากรุกให้

การเขียนคำนำทางวิชาการก็คล้ายกัน เป็นการจูงใจให้คนอ่านรู้เหตุผลว่าทำไมเราถึงศึกษาเรื่องนั้น ทำให้การค้นคว้ามีความหมายขึ้น มีความน่าสนใจขึ้น ทำให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังเชื่อถือที่เราจะเขียนมากขึ้น เช่นคุณจะเขียนเรื่องความอ้วนในประชากรไทย อาจจะมีคำนำ เช่น  ในระยะหลังๆนี้ มีบทความเกี่ยวกับสุขภาพโดยเฉพาะเรื่องน้ำหนักเกินปกติในประชากรไทยอยู่บ่อยๆ มีบทความเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอัตราู้ป่วยโรคเบาหวานกับอัตราประชากรที่น้ำหนักเกิน ผู้เขียนใคร่จะศึกษาว่าจริงเท็จแค่ไหน จึงได้รวบรวมข้อมูลจากรายงานผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาที่ รพ. ......... ในปี ๒๕๓๐ กับในปี ๒๕๕๐ โดยดูน้ำหนักตัวของผู้ป่วยตอนรับเข้ารพ. ดูระดับน้ำตาลในเลือดตอนเจาะเลือดครั้งแรก นำข้อมูลที่ได้จากปี ๒๕๓๐ มาเปรียบเทียบกับข้อมูลปี ๒๕๕๐

ในคำนำอาจเกริ่นถึงวิธีการของการศึกษาหรือค้นคว้า แต่ไม่พูดละเอียด เก็บไว้พูดทีหลัง

คำนำที่ดีควรมีลักษณะดังนี้


เขียนคำนำด้วยคำพังเพยหรือสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่อง

 

  1. เขียนคำนำโดยการอธิบายความหมายของเรื่อง

     
  2. เขียนคำนำโดยขึ้นต้นด้วยคำกล่าวของบุคคลสำคัญ

     
  3. เขียนคำนำด้วยการเล่าเรื่อง

     
  4. เขียนคำนำด้วยคำถามหรือปัญหาที่สนใจ

     
  5. เขียนคำนำด้วยการอธิบายชื่อเรื่อง

     
  6. เขียนคำนำด้วยคำกล่าวถึงจุดประสงค์ของเรื่องที่เขียน

     
  7. เขียนคำนำด้วยการกล่าวถึงใจความสำคัญของเรื่อง

    คำแนะนำดีๆจากคนดี